องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเพ็ง

Chaingpeng Subdistrict Administrative Organization

ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ


ออนไลน์ : 19

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ของ ตำบลเชียงเพ็ง
อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

*******************************
 
          ยุทธศาสตร์ คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของ อบต. ๔ ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
          ๑. ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                    ๑.๑) ความทั่วถึงของถนนกับความจำเป็นในการใช้สัญจรไปมา
                    ๑.๒) การดูแล บำรุง รักษาถนนในเขต อบต.
                    ๑.๓) ความสะดวก ความปลอดภัยของถนนในการสัญจรไปมา
                    ๑.๔) การให้บริการน้ำดื่ม – น้ำใช้ แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
                    ๑.๕) ความเพียงพอปริมาณน้ำดื่ม – น้ำใช้ แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
                    ๑.๖) ความสะอาดปลอดภัยของน้ำดื่ม – น้ำใช้ แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
                    ๑.๗) การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอในการทำการเกษตรในเขตพื้นที่
                    ๑.๘) ความส่องสว่างบริเวณถนน
                    ๑.๙) การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ให้บริการไฟฟ้า
          ๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสร้างสังคมมีคุณธรรม
                    ๒.๑) การส่งเสริมและพัฒนาการกลุ่มอาชีพ
                    ๒.๒) การส่งเสริมพัฒนางานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
                    ๒.๓) การส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาและส่งเสริมการศึกษา
                    ๒.๔) การส่งเสริมพัฒนาการสาธารณสุข
                    ๒.๕) การส่งเสริมพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
                    ๒.๖) การส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
                    ๒.๗) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการประชาคมในการพัฒนาท้องถิ่น
                    ๒.๘) พัฒนาการรักษาความสงบเรียบร้อย และเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน
                    ๒.๙) การส่งเสริมการอนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ๓. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการสิ่งแวดล้อม
                    ๓.๑) การส่งเสริมการลดปริมาณขยะมูลฝอยและการคัดแยกขยะเพื่อส่งเสริมให้ ประชาชนนำกลับมาใช้ประโยชน์
                    ๓.๒) การรณรงค์การปลูกต้นไม้หรือการดูแลรักษาต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขต อบต.
                    ๓.๓) การให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    ๓.๔) การรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                    ๓.๕) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำการเกษตรปลอดสารพิษ
          ๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    ๔.๑) การส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
                    ๔.๒) การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
                    ๔.๓) การส่งเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

 
View : 555